Pages

Sunday, November 2, 2014

Physical camera option (V-ray)

Physical Camera
มาลองปรับค่าใน  V-Ray Physical camera กัน

ข้ามเรื่องการตั้งมุมมาที่ oprtion ของ กล้อง หรือไปอ่านเรื่อง ตั้งค่ามุมกล้อง Advance camera ก่อน
เมื่อตั้งมุมได้แล้ว ให้มาดูที่ Camera เลย หน้าตาเป็นแบบนี้

ค่าที่เราจะลองปรับให้ดู คือ (ค่ามาตรฐานจาก vray)
1. Shutter Speed (300)
2. F-number (8.0)
3. Film speed (ISO) (100)
4. White balance (White)
5. Distortion (0.0)
6. Zoom factor (1)
7. Lens shift (0.0)


ค่าแสงใน Scene นี้ ปรับเเป็นค่าเดียวกันทุกตัว เราจะมาปรับเฉพาะค่าใน Physical cameara เพื่อดูความแตกต่าง

1. Shutter Speed (300) เรียกว่า ความไวชัตเตอร์ เป็นระยะเวลาเปิด shutter เลขจะเป็น 1/xxx วินาที เช่น เลข 100 ก็แปลว่า เปิดชัตเตอร์ ไว้ 1/100 วินาที ดังนั้น ตัวเลขยิ่งมาก ยิ่งเปิดปิดเร็ว แสงก็เข้าได้น้อย ภาพก็มืด นั่นเอง ตัวเลขน้อย แปลว่า เปิดชัตเตอร์ไว้นาน แสงก็เข้าได้มาก ภาพก็สว่างมาก



2. F-number (8) ภาษาไทยเรียกว่า ขนาดรูรับแสง ขนาดใหญ่(ตัวเลขน้อย) แสงเข้าได้มาก ขนาดเล็ก(ตัวเลขมาก) แสงแข้าได้น้อย ตัวเลขเป็น  1/xxx เช่นกัน




ในกล้องถ่ายรูปจริงๆ จะมีผลกับ dept of field (ระยะชัดลึกชัดตื้นด้วย แต่ใน vray แยกกันอยุ่ ปรับค่าได้ต่างหาก)

3. Film speed (ISO) (100) เป็นค่าความไวแสงของฟิล์ม ตัวเลขมาก ก็มีความไวแสงมาก รับแสงได้มาก เอาไว้ถ่ายกลางคืน ในที่มืด ได้ดี แต่ยิ่งมากก็มี noise มา ตามไปด้วย ถ้าเป็นกล้องฟิล์มสมัยก่อน เวลาซื้อฟิล์ม ก็ต้องเลือกซื้อว่าจะเอาไปถ่ายในสภาพแสงอย่างไร แสงธรรมชาติกลางแจ้ง แดดดีๆ ใช้ ISO 100 กลางคืนใช้ ISO 400 เป็นต้น



4. White balance (White) ค่าอุณหภูมิสี คือ แสงในแต่ละสภาพ ก็มีอุณหภูมิสีแตกต่างกัน เช่น กลางแจ้างตอนเช้า ตอนเที่ยงตอนเย็นก็คนละสี ในห้องที่มีแหล่งกำเนิดไฟแบบต่างๆ เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ก็มีสีหนึ่ง หลอด ฮาโลเจ้น ก็ให้ค่าสีหนึ่ง อันนี้เกิดขึ้นใสสมัยกล้อง digital แล้ว ถ้าให้นึกถึงกล้องฟิล์ม ก็เรียกว่า ใส่ fillter สี ก็ได้ แต่จะเป็นสีคู่ตรงข้ามกัน อธิบายยาก 
หรืออีกอย่าง ก็คือ ตาคน กับ เซนเซอร์ รับภาพ มองแสงสีขาว ไม่เหมือนกัน เราเห็นสีขาว กล้องจะเห็นเป็นอีก tone หนึ่ง จีงต้องปรับ white balance ให้กลับมาที่แสงขาว ซึ่งกล้องทุกตัว จะมีค่ามาตรฐาน wb ให้เลือก ตามแหล่งกำเนิดแสง ต่างๆ  ยิ่งเขียนยาว จะยิ่งงง เอาเลยดีกว่า 


สรุป 
ใส่ White Balance สีขาว จะให้ภาพแสงปกติ
ใส่ White Balance สีน้ำเงิน(เย็น) จะให้ภาพแสงโทน สีร้อน
ใส่ White Balance สีส้ม(ร้อน) จะให้ภาพแสงโทนสีเย็น
สีจะออกตรงข้ามกับสีที่ใส่ไป

1-4 นี้ จะเป็นเรื่อง สี,แสง ความเข้ม สว่าง ของภาพ เลือกปรับตามที่เห็นเหมาะสม
ต่อไปเป็นเรื่องการแก้มุมมองของภาพ 

5. Distortion (0.0) แปลว่า ความบิดเบือน




6. Zoom factor (1) zoom เข้า > 1 , zoom ออก <1 




7. Lens shift (0.0) 




Vignetting ปรับ effect ให้เหมือนกล่องสมัยเก่าๆ จะมีขอบภาพมัว ตรงมุมภาพทั้งสี่ด้าน


rwny


No comments:

Post a Comment